วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

Clash Detection
     ต่อจากคราวที่แล้วนะครับผมก็ได้เกริ่นเรื่องของการตรวจสอบการชนกันของวัตถุในที่นี้คือ งานระบบ ไม่ว่าจะเป็นท่อ สายไฟ ท่อแอร์เมื่อเราใส่เข้าไปในงานแล้ว พบว่าในการติดตั้งงานเหล่าจำเป็นต้องทำการเจาะทะลุไม่ว่าจะเป็น ผนัง พื้น เพื่อให้ท่อต่างๆ สามารถเดินผ่านไปได้ซึ่งในการตรวจสอบด้วยสายตาระหว่างการออกแบบก็เป็นวิธีการทั่วไปที่ใช้กันอยู่แล้ว แต่หากเรามีเครื่องมือที่ช่วยให้เราค้นพบจุดต่างๆที่เกิดการชนกันของวัตถุได้ ก็คงจะช่วยให้งานของเรามีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
     สำหรับโปรแกรม ArchiCAD นั้นก็จะมีเครื่องมือในการตรวจสอบไว้ให้เราได้ใช้งานได้โดยเราเข้าไปใช้งานได้ที่เมนู Design /MEP /Detect Collisions


หลังจากที่เราเรียกใช้งานคำสั่ง Detect Collisions โปรแกรมจะทำการตรวจสอบจุดต่างๆที่มีการชนกันให้เรา ขั้นตอนต่อไปเราก็แค่จำเป็นต้องมีการแก้ไขงานหรือไม่เช่น จำเป็นต้องเปิดช่องหรือไม่ มีความจำเป็นต้องจัดทำ Detail ในจุดนั้นเป็นการเฉพาะหรือไม่เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง


จากตัวอย่างเมื่อมีการตรวจสอบ จะเห็นว่าโปรแกรมจะรายงานออกมาว่าตรวจพบทั้งหมดกี่จุดที่วัตถุชนกัน ซึ่งเราสามารถลบรายการที่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องสนใจเป็นพิเศษออกรายการได้ครับ


ครับสำหรับหัวข้อนี้ก็จบลงอย่างรวดเร็วครับ...ครั้งต่อไปผมจะเสนออะไรให้กับท่านผู้อ่านบ้างก็สามารถติดตามได้เรื่อยๆนะครับ

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

ท่อ(2)
     ในการเดินท่อในแนวแกนหรือระนาบต่างๆสำหรับ BIM ตัวนี้จะมีเครื่องมือเพิ่มเติมเข้ามาอีกครับเพื่อให้เราเดินท่อได้ง่ายและต่อเนื่อง เครื่องมือนี้สำหรับโปรแกรมตัวนี้จะเรียกว่า MEP Routing


        ตรวจสอบขนาดท่อแล้วผมคิดว่าแก้ไขขนาดท่อให้เป็นขนาดของท่อ PVC ดีกว่าครับก็จะเอาขนาดของท่อน้ำไทยแล้วกันครับผมได้นำมาแสดงให้ดูและจะใช้ขนาด OD มาใช้งานครับ


       สำหรับการเพิ่มขนาดท่อหรือแก้ไขจะต้องมาเพิ่มที่ MEP Preference ครับ เพื่อให้ถูกต้องตามงานที่เราจะทำซึ่งการเพิ่มหรือแก้ไขก็ไม่ยากอะไรครับ..(ขอให้รู้ว่ามันเข้าไปปรับที่ใหนเป็นพอ 555) จากรูปด้านล่างก็จะเห็นว่าเราสามารถปรับตั้งค่ามาตรฐานเกี่ยวกับองศาการหักเลี้ยวของท่อได้ที่หน้าต่างนี้ด้วยครับใครอยากลองดูก็ไม่ว่าครับ..แต่ผมจะใช้ค่าเดิมครับ..


ต่อมาก็กดปุ่ม Pipe... เลยดีกว่าครับเราก้จะเจอหน้าต่างที่มีข้อมูลขนาดท่อดังรูปข้างล่าง


    หลังจากที่ปรับแก้ใหม่ก็จะได้รายการประมาณนี้ครับ...ก็เอาพอได้ใช้เขียนตัวอย่างให้พี่น้องได้รับชมกันก่อนครับ..(เข้าใจตรงกันนะ..)


อืมมม..ทีนี้ก็น่าที่จะพอเดินท่อได้แล้วครับ (ภาพล่างขนาดท่อได้ถูกแก้ไขแล้วนะครับ)



     ก็ทดลองเลยนะครับเลือกท่อขนาด OD 26 มม (3/4" ) ความสูงจากระดับพื้นมาถึงกึ่งกลางท่อ 150 ระบบ water supply แล้วก็คลิกที่ Start Routing


     (รูปล่าง) คลิกที่จุด กากบาทเล็กๆที่หน้าจอครับ..(มันคือจุด Origin) เราสามารถกด Tab เพื่อใส่ค่าหน้าต่าง Pop Up ผมทดลองใส่ค่า 500 ทิศทางตามแกน Y


     ระหว่างที่เดินท่อ (ผมอยู่ใน PlanView) เมื่อเราคลิกเพื่อเดินท่อก็จะเห็นว่ามีเครื่องมือบางตัวเริ่มใช้งานได้


ระหว่างที่เดินท่อหาก กดที่ปุ่ม1 จะเป็นการบังคับทิศทางเดินท่อแนวราบเท่านั้น ปุ่ม2 แนวดิ่ง ปุ่ม3 เป็นการเดินในแนวเอียงตามองศาแล้ว หากเรากดปุ่ม F3 (เป็นการเลือกมุมมองแบบ 3 มิติระหว่างเดินท่อ) เราจะสามารถควบคุมการหักเลี้ยงของท่อในระนาบที่เราต้องการได้อีกโดยการการคลิก ที่ปุ่มที่ 4


ครับ..ลองใช้งานดูครับเดี่ยว ครั้งหน้าเราจะไปดูว่าหากต้องเดินท่อเยอะๆ จะมีวิธีการตรวจสอบยังไงว่าท่อเราที่เดินนั้นไม่ไปชนกับส่วนอื่นๆ เช่น คาน ผนัง หรือ ท่อด้วยกันเองเพราะการเดินท่อในอาคารส่วนมากจะหลบเสาหลบคานมากกว่า หรือว่าเราจะเปิดช่อง นั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสวยงาม และที่สำคัญคือสามารถตรวจสอบและเข้าไปซ่อมแซมได้












วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

(ท่อ 1)

(ท่อ 1)
    จากครั้งที่แล้วเรารู้แล้วว่าการสร้าง WHR เพื่อเก็บไว้เป็น Library เอาไว้ใช้ว่าทำยังไงคราวนี้เราจะมาดูเครื่องมือของโปรแกรม ArchiCAD  (BIM) ในงานระบบ MEP กันบ้าง..จากการตรวจสอบเครื่องมือคร่าวๆ(ดังรูปข้างล่าง)ของผมนั้น จะพบอุปกรณ์ต่างๆดังรูปก็จะมี Duct Work/Pipe Work/Cabling


   ก่อนที่เราจะเริ่มเดินท่อเราจะต้องรู้ก่อนว่าเราจะเดินท่ออะไร ท่อน้ำ หรือท่อร้อยสายไฟ รวมถึงการนำไปใช้งานว่าท่อที่เราจะติดตั้งจะมีผลกระทบด้าน อุณหภูมิ ความชื้น การสะเทือน หรืออื่นๆนอกเหนือจากนี้(ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบ) ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจเรื่องชนิดของท่อที่เราจะใช้งานกันก่อนครับเพื่อให้เข้ากับคอนเซ็บ(รู้จัก MEP รู้จัก BIM) ดังนั้นเมื่อเรารู้ว่าเราจะใช้ท่ออะไรแล้วก็ต้องใส่ข้อมูลที่สำคัญนี้เข้าไปที่ตัวโมเดล BIM ของเราด้วยซึ่งการใส่ข้อมูลเราก็รู้ขั้นตอนมาบ้างแล้วจากตัว WHR ซึ่งข้อมูลเฉพาะด้านของอุปกรณ์เราจะต้องใส่เข้าไปด้วย
   

    ประเภทท่อน้ำ ก็มีทั้งท่อเหล็กและท่อพลาสติก(ขอเรียกง่ายๆไปก่อนครับ) รายละเอียดดังนี้

   ท่อเหล็ก ชุบกัลวาไนท์ จะมีสีคาดที่ตัวท่อซึ่งบอกถึงความหนาที่แตกต่างกันครับ
      สีเหลือง (BS-S ) ความหนาบางที่สุดในสามโลก..เอ๊ย..สามสีครับหนาเท่าไหร่บ้าง.?? รบกวนถามคนครับเพราะข้อมูลอาจแตกต่าง


      สีน้ำเงิน (BS-M) ความหนาระดับกลาง


      สีแดง (BS-H) ความหนาสูงสุด


     สำหรับท่อน้ำเหล็กที่กล่าวในข้างต้นถามว่ามีการนำไปใช้งานแบบอื่นได้หรือไม่..ได้ครับเช่นทำรั้ว..แล้วใช้ร้อยสายไฟล่ะ..ได้ครับเช่นงานที่ต้องเดินสายไฟในที่โล่งแจ้ง งานเดินสายไฟนอกอาคารที่ ต้องการความแข็งแรงครับ..(มันเป็นการประยุกต์ใช้ครับ)

ท่อน้ำประเภทพลาสติก (เรียกแบบง่ายๆ)
     ท่อ PVC (polyvinyl chloride)  สีฟ้า เป็นท่อทิ่นิยมนำมาใช้ในงานสุขาภิบาลในอาคาร เช่น ใช้เป็นท่อน้ำประปาซึ่งต้องรับแรงดันน้ำหรือใช้กับระบบปั้มน้ำซึ่งต้องเลือกใช้มาตรฐานท่อขนาด PVC-8.5 (แรงดันต่ำ) หรือPVC-13.5 แต่ถ้าใช้เป็นท่อระบายน้ำทิ้งหรือท่อน้ำโสโครกซึ่งไม่มีแรงดันน้ำ ให้เลือกใช้มาตรฐานท่อขนาด PVC-5 ซึ่งการระบุท่อ PVC-5, PVC-8.5 และ PVC-13.5 เป็นการระบุถึงความสามารภในการรับแรงกดดันได้ของท่อเหมาะสำหรับใช้งานภายในอาคารหรือในที่ร่มเท่านั้น ไม่ควรใช้กับภายนอกอาคารที่ต้องสัมผัสกับแสงแดด


   ประเภทท่อร้อยสายไฟมีทั้งแบบเหล็ก และแบบพลาสติก(เรียกง่ายๆ)

      ท่ออีเอ็มที แบบบาง EMT (Electrcal Metallic Tubing)  เหมาะกับงานเดินท่อลอยภายในอาคารหรือฝังในผนังคอนกรีต ไม่เหมาะกับกับการฝังใต้พื้นคอนกรีตหรือบริเวณที่อาจเกิดการกระทบ(เพราะเสียรูปทรงง่าย)มาตรฐานใช้สีเขียวเขียนบอกขนาด


      ท่อไอเอ็มซี หนาปานกลาง (IMC ; Intermediate Conduit) เหมาะกับงานเดินนอกอาคาร  หรือฝังในผนัง-พื้นคอนกรีต มาตรฐานใช้สีเขียวเขียนบอกขนาด


      ท่ออาร์เอสซี แบบหนา ( Rigid Steel Conduit; RSC )   เหมาะกับงานเดินนอกอาคาร หรือฝังในผนัง-พื้นคอนกรีต มาตรฐานใช้สีดำเขียนบอกขนาด


      ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit) เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าที่เหมาะกับการเข้าดวงโคมหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า


      ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ  มี PVC เคลือบที่ผิวท่อสามารถป้องกันสายไฟในท่อได้ดีอ่อนตัวได้พอสมควรไม่ควรให้สัมผัสกับไอน้ำมัน




      
      ท่อร้อยสายไฟประเภทพลาสติก(เรียกแบบง่ายๆ)

      ท่อ PVC (PolyVinyl Chloride) สีเหลืองเหมาะกับงานเดินสายไฟทั่วไปแต่ข้อเสีย คือขณะที่ถูกไฟไหม้จะมีก๊าซพิษที่เป็น อันตรายต่อคนเราออกมาด้วย


       ท่อ HDPE (High Density Polyethylene)ผลิตจากวัตถุดิบ โพลีเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) เหมาะสำหรับงานร้อยสายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ หรือสายไฟเบอร์ออพติกและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในการติดตั้งระบบสื่อสารสมัยใหม่ เพื่อเป็นฉนวนหุ้มป้องกันหรือใช้ในงานหุ้มสายเคเบิ้ลต่างๆ มีทั้งแบบผิวเรียบ และลูกฟูก(EFLEX) 


      ท่อที่ผมได้นำเสนอข้างต้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่เห็นใช้งานกันทั่วไปที่เห็นกันบ่อยๆครับ ปัจจุบันนี้มีการประยุกต์การใช้งานวัสดุประเภทต่างๆที่มีจุดเด่นในเรื่องต่างๆมาใช้งานร่วมกันเพื่อให้เหมาะกันสภาพพื้นที่ที่จะใช้งานครับเช่นรูปข้างล่าง


      ดังนั้นผมคิดว่าพอแค่นี้ก่อนสำหรับเรื่องท่อ ต่อมาเราจะลองเพิ่มระบบน้ำเข้าไปใน Project ที่เราต้องการทำงานก่อนนะครับมาดูสถานที่ที่จะทำการตั้งค่าระบบ MEP กันก่อน ในที่นี้ผมต้องการเดินระบบน้ำปะปาอาจจะตั้งชื่อง่ายๆว่า Water Supply เพื่อให้เข้าใจว่าเป็น ระบบส่งน้ำส่วนจะเป็นท่อประธาน หรือท่อสาขายังไม่ต้องสนใจครับ สำหรับตัวโปรแกรม ArchiCAD นั้นการตั้งค่าระบบจะอยู่ที่เมนู Design/MEP Modeling/MEP System… เราก็จะเจอหน้าจอดังรูป


      เนื่องจากว่าระบบที่ผมต้องการทำงานในขณะนี้คือระบบน้ำปะปา ดังนั้นเมื่อสังเกตุจากค่าเริ่มต้นที่โปรแกรมให้มาจะไม่มีให้ ตรงนี้คือสิ่งที่เราจะต้องทำเพิ่มครับ คลิกที่ปุ่ม New.. แล้วตั้งชื่อว่า Water Supply จากนั้นคลิกที่ช่อง Pipework ก็ปรับค่าอื่นๆเพิ่มเติมในพาเนล Edit Selected System เช่น System Surface และ Insulation Surface ครับจากนั้นกดที่ปุ่ม OK 


      ทดสอบดูว่าการแสดงผลทางกราฟฟิค ตรงตามที่เราต้องการหรือเปล่าโดยการคลิกตามลำดับดังรูป


      จากนั้นเลือกเป็นระบบ Water Supply ที่เราได้ตั้งค่าเอาไว้ครับแล้วกด OK จากนั้นทดลองคลิกที่บริเวณใดๆก็ได้ครับบนหน้าจอก็จะพบท่อของเรา 



      ตอนนี้เราได้ท่อแบบที่เราต้องการมาแล้ว โดยการคลิก...แต่ในความเป็นจริงในการ เดินท่อจริงจะต้องเดินในแนวแกนอื่นๆและระนาบอื่นๆอีกด้วยซึ่งเราจะมาต่อกันในครั้งหน้าครับ..ตอนนี้ผมต้องขอตัวก่อนครับ
















วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2557

Water hammer ( การจัดเก็บเป็น libraries )

Water hammer ( การจัดเก็บเป็น libraries )
     ครับคราวที่แล้วการสร้างเจ้าตัว WHR แล้วก็วิธีการใส่ข้อมูลที่ต้องการเราก็ทำไปแล้ว ก็รูปแบบในการสร้างเท่าที่ลองใช้งงานดูผมคิดว่าก็ง่ายๆ โดยเฉพาะเจ้าเครื่องมือ Morph ในการขึ้น Model ตัว Water Hammer Arrester ก็ถือว่าแนวคิดในการขึ้นรูปก็เป็นแบบทั่วๆไปเหมื่อนหลายๆโปรแกรม ที่ชัดเลยก็ Sketch Up ทำให้ไม่ต้องเรียนรู้ใหม่หมดซะทีเดียว (ได้ใจคนขี้เกียจไปเต็มๆ 555 ) ต่อไปก็ถึงคราวจัดเก็บใว้เป็น Library ครับคราวต่อไปถ้าต้องการใช้งานก็หยิบมาใช้งานเลย..ส่วนใครที่ขยันจัง..สร้างใหม่ทุกครั้งที่จะใช้งานก็ข้ามไปเลยครับ
 
1.อันดับแรกก็เลือกวัตถุทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบของ WHR ครับตามรูป


2. จากนั้นก็เข้าไปที่เมนู File/Libraries and Object/Save Selection as../Object..


3. จากนั้นก็คลิกที่ปุ่ม New Folder..แล้วตั้งชื่อตามรูปผมต้องการเก็บ WHR อยู่ใน Folder ชื่อ MEP จะได้ง่ายเวลาหามางานครับส่วนชื่อที่ช่อง Name ก็ตั้งให้สื่อขึ้นขนาดและคุณสมบัติการใช้งานคร่าวๆจะดีที่สุดครับจะได้อ่านชื่อแล้วหยิบมาใช้ได้เลย


4. ขั้นตอนต่อมาก็เป็นการกำหนดลักษณะเส้น-สี-ผิวที่จะแสดงออกมาครับ อันนี้คิดว่าลองปรับกันดูได้ครับสำหรับผมขอข้ามไปก่อนโดยการคลิกปุ่ม OK (พอดีรีบครับ 55)


5. เสร็จแล้วครับ..ต่อไปก็ไปเอามาใช้งานโดยการคลิกตามรูป


6. จะเจอหน้าจอดังรูปข้างล่างทำการ Save เก็บไว้เป็นค่า Favorites..โดยการ copy ชื่อในกรอบสีแดงเป็นชื่อที่จะใช้งานครับ


7.  คลิกที่ Save Current Setting as Favorite (1)แล้วตั้งชื่อ(2) เสร็จแล้วครับ


8. จากนั้นก็ทดสอบครับโดยการเปิดเครื่องมือ Favorites มาใช้งานเมื่อเราคลิกที่ Object เราจะพบตัว WHR จากนั้นก็ดับเบิลคลิกแล้วใช้งานได้เลย



  เอาละครับ..คราวต่อไปเราจะมาดูว่า ArchiCAD จะเดินท่อยังไง มีเครื่องมืออะไรบ้างครับ..


วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

Water Hammer (ต่อ)

     ต่อจากคราวที่แล้วครับในครั้งนี้เราจะพูดถึงการใช้งาน Software ในระบบ BIM ครับเพราะต่อไปเราจะเห็นหลายๆบริษัทวงการก่อสร้างใช้ระบบนี้มากขึ้นๆ เหตุผลหลักๆเลยนะครับที่ผมคิดคือ
     1.Software ที่ใช้ระบบ BIM ช่วยลดเวลาในการทำแบบ 2D ได้มากเลยครับและความถูกต้องก็เรียกได้ว่าเป็นที่น่าพอใจเพราะที่เหลือเราแค่ใส่ Detail ในการติดตั้งหรืออื่นๆให้ถูกต้องเหมาะสม
     2.Model 3D ที่ได้จากระบบ BIM ยังสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานซ่อมบำรุงได้ด้วยครับ..ก็ไม่แปลกเลยนะครับที่เป็นเช่นนั้นเพราะวัตถุที่มากจากระบบ BIM เช่น Pump,Pipe,Valve..etc วัตถุต่างๆเหล่านั้นจะมีข้อมูลติดตัวมาด้วย (แล้วมาได้ยังไงเดียวเราจะมาดูวิธีครับ) ดังนั้นข้อมูลที่ฝ่ายซ่อมบำรุงต้องการไว้ใช้สำหรับงานของตัวเองก็ต้องใส่ไปตอนทำสัญญาด้วยครับ ไม่งั้นก็ต้องมานั่งปวดหัวต่อไปเพราะอะไรเดี๋ยวมีโอกาสจะนำเสนอแน่นอน..ถ้าไม่ลืมซะก่อน
    3.มาจากเหตุผลข้อที่ 2 ด้วยก็คือเจ้าของตึกต้องการข้อมูลไว้วางแผนซ่อมบำรุงอาคารที่เป็นระบบ BIM ผู้รับเหมาก็ต้องจัดทำ ไม่ว่าจะทำเอง หรือวิธีการจ้าง Out source ราคาก็แล้วแต่ขนาดโครงการความยากง่าย (ปริมาณข้อมูล)
    ครับเรามาเข้าเรื่องกันเลยจากครั้งที่แล้ว ผมจะสร้างเจ้าตัว Water Hammer Arrestor พร้อมทั้งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับลูกค้าด้วย
    โปรแกรมที่ใช้ในบทความแรกจะเริ่มจาก ArchiCAD ครับและในครั้งต่อๆไปก็จะใช้ Revit ด้วยเพื่อความเท่าเทียมกัน...(จะไม่มีปัญหาแบบการบ้านเมือง 555) ซึ่งขั้นตอนการทำอาจแตกต่างกันบ้าง  ดังนั้นดูที่จุดหมายปลายทางเป็นหลักครับจะได้ไม่หงุดหงิดกวนใจ..เริ่มเลยละกัน (วิธีการไม่ละเอียดนะครับเพราะ Blog ผมไม่ได้สอนการใช้งานโปรแกรมครับ(แต่ก็เกือบๆละ) แต่ความตั้งใจคืออยากให้ผู้สนใจรู้ว่า BIM เป็นประโยชน์กับงานด้าน MEP ยังไงมากกว่า)

1.  เรามาดูหน้าตาโปรแกรมกันครับก่อนครับดังรูปข้างล่าง


(หน้าตาโปรแกรม)
    มองดูจากหน้าตาของโปรแกรมแล้วก็บอกว่าประทับใจครับ เพราะดูเรียบๆดีครับ เริ่มจากใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Morph กันต่อเลยดีกว่าครับ

2.เริ่มจากเขียนส่วย Body (โดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Morph) ก่อนครับก็ลองๆเขียนดูครับเริ่มจากทำวงกลมแล้วดึงขึ้นมาตามแกน Z  รู้สึกจะเหมือน Sketch Up เลยครับ ผมคิดว่าหลักการเหมือนกันเลย (แบบนี้เค้าเรียกว่า "กินหมู" สินะ)


3. จากนั้นก็เริ่มส่วนหัว (ส่วนที่จะต่อกับท่อ) ก็ใช้การ Copy ขณะหมุนครับ


4.  ต่อมาก็ปรับความยาวส่วนหัวให้พอดีครับ ก็ตามใจผู้เขียนครับ..55..แต่ก็กะไว้ว่าจะต่อเข้ากับท่อน้ำขนาด 1 นิ้วครับ (งานจริงก็ต้องดูแคตตาล็อกจากผู้ผลิต) รูที่จะสวมท่อเข้าไปก็ระยะประมาณ 1 นิ้วครับ(เขียนวงากลมแล้วก็ดึงเข้าไปครับ) แลัวก็ปรับส่วนบนให้มนกลมหน่อยนึง..เอาล่ะครับเดียวจะไม่จบ (พอดีเรียบ) เอาง่ายๆไปก่อนและจะไปดูเรื่องการใส่ข้อมูลของตัวอุปรกรณ์กันต่อ


5.  จัดการใส่ข้อมูลเข้าไปที่วัตถุ เช่น ชื่อ Water Hammer Arrestor  แล้วก็ข้อมูลใช้งานในที่นี้เช่น ความดันใช้งาน อุณหภูมิ เป็นต้น(ซึ่งเราจะเพิ่มข้อมูลอะไรจำนวนเท่าไหร่ก็แล้วแต่เราครับ)


6.  ใส่ชื่อเช่น WHR ครับ (อันนี้ตามใจผู้เขียน แต่ที่ Description ผมใส่ชื่อเต็ม..งานจริงต้องวางแผนครับว่าต้องการข้อมูลอะไร และจะแสดงข้อมูลยังไงอะไรบ้างให้เหมาะสมกับการใช้งานครับ)


7.  สร้างข้อมูลเพิ่มเติมครับ Property Set name : ตั้งชื่อหัวกลุ่มข้อมูลในที่นี้ผมให้ชื่อว่า MEP_Information เพราะจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์อยู่ในกลุ่ม MEP และ Property name : ความดันใช้งานสูงสุด (ก็ลองเขียนภาษาไทยดู..ฮึ..ใช้ได้แฮะ)


8.  ทดสอบการแสดงผลในรายการวัสดุ BOQ ก็จะได้ดังรูปโดยในตัวอย่างแสดงให้ดูว่าไม่ว่าข้อมูลเป็นแบบใหนใส่อะไรเข้าไป สามารถนำมาแสดงได้หมดครับ ( ถ้าทำงานจริงข้อมูลต้องละเอียดกว่านี้ครับโดยผู้อ่านอาจจะต้องใส่ Model No./ยี่ห้อ/ส่วนพวกความดัน อุณหภูมิ อาจเอาไปใว้ใน Description ก็ได้ตามความเหมาะสม)


 เอาละครับเดียวต่อไปผมจะลองเก็บเจ้าตัว WHR ตัวนี้ไว้เป็น Library แล้วก็เอาออกมาใช้..เมื่องานต้องการ..55 (เดียวมาต่อคราวหน้าครับ)


วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Water Hammer

   Water Hammer หรือบ้านเราเรียกกันว่า ค้อนน้ำ เป็นปรากฏการเมื่อของใหลในท่อเกิดการเปลี่ยนแปลงความเร็วอย่างเฉียบพลัน เช่น เมื่อเราทำการปิดก็อกน้ำอย่างรวดเร็วส่งผลให้น้ำในท่อวิ่งมาชนที่ก๊อกน้ำ(วาล์ว)



Credit->http://www.maplesoft.com

หรือถ้ายังไม่ค่อยเห็นภาพ (ความเสียหาย) ก็ลองนึกถึงภาพของขบวนรถไฟฟ้าในอุโมงค์ ที่วิ่งมาด้วยความเร็วสูงแล้ววิ่งเลยสถานีมาชนปลายอุโมง (ทางตัน) ครับส่วนหัวขบวนจะเสียหายหนักที่สุด ส่วนกลางขบวนก็ เสียรูปทรงบางท่อนก็อาจจะขวางอุโมงค์ น้ำในท่อน้ำก็เปรียบได้กับขบวนรถไฟนี่ล่ะครับ สำหรับบ้านใครที่น้ำไหลช้ามาก (บางวันไม่ไหล)...ก็ไม่ต้องกังวลครับ ส่วนบ้านใครที่น้ำไหลแรงแล้วชอบเปิด-ปิดก๊อกน้ำเร็วๆโดยเฉพาะก๊อกที่เป็น Ball Valve หรือรูปข้างล่าง


Credit->http://gimzeng-ud.blogspot.com

เวลาใช้ถ้าสังเกตุจะได้ยินเสียงน้ำไหลเวลาปิดก็ได้ยิน เมื่อใช้ไปนานๆก็อาจจะทำให้อุปกรณ์ยึดท่อต่างๆ หลวมได้ครับ หนักเข้าเวลาปิดก๊อกอาจจะได้ยินเสียงท่อไปเคาะกับผนัง หรืออื่นๆ นั้นหมายความว่าควรหาวิธีการซ่อมได้แล้วครับโดยการขันน๊อตยึดท่อให้แน่น แล้วก็อาจจะทำ Air Chamber ดังรูปข้างล่างเพื่อลดการกระแทกของน้ำในท่อดังรูปข้างล่าง


Credit->http://www.dictionaryofconstruction.com

หลักการทำงานของ Air Chamber จากรูปจะเห็นว่าส่วนปลายท่อนั้นได้อุดปลายนะครับ และปลายท่อที่อุดจะอยู่สูงกว่าทางออกของน้ำ (ปลายก๊อกน้ำ) ดังนั้นภายในจะเป็นช่องว่างของอากาศครับ เมื่อเราทำการปิดก๊อกน้ำอย่างรวดเร็ว (ตามนิสัยที่ชอบทำอะไรๆก็เร็วไปซะทุกเรื่อง..) น้ำบางส่วนก็จะวิ่งเลยไปที่ปลายท่อครับ และอากาศก็จะถูกน้ำบีบอัดตัวขึ้นไปซึ่งก็จะเป็นการชะลอความเร็วของน้ำครับ  นอกจากวิธีการนี้แล้วในปัจจุบันก็มีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นี้ถูกผลิตออกมาให้ใช้กันหลายแบบตามความเหมาะสมครับ เช่น

     Water hammer arrester (Credit->http://www.plumbingsupply.com)



 Pressure relief valve (Credit->http://www.watervalve.org) 


     ครับในครั้งต่อไปเดี๋ยวเราจะมาดูตำแหน่ง ที่เราจะติดตั้ง พร้อมๆกับการใช้ซอฟแวร์ระบบ BIM กันนะครับ (เพื่อให้เข้ากับ concept ของบล็อกซะหน่อย )..

คลังบทความของบล็อก