Water Hammer (ต่อ)
ต่อจากคราวที่แล้วครับในครั้งนี้เราจะพูดถึงการใช้งาน Software ในระบบ BIM ครับเพราะต่อไปเราจะเห็นหลายๆบริษัทวงการก่อสร้างใช้ระบบนี้มากขึ้นๆ เหตุผลหลักๆเลยนะครับที่ผมคิดคือ1.Software ที่ใช้ระบบ BIM ช่วยลดเวลาในการทำแบบ 2D ได้มากเลยครับและความถูกต้องก็เรียกได้ว่าเป็นที่น่าพอใจเพราะที่เหลือเราแค่ใส่ Detail ในการติดตั้งหรืออื่นๆให้ถูกต้องเหมาะสม
2.Model 3D ที่ได้จากระบบ BIM ยังสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานซ่อมบำรุงได้ด้วยครับ..ก็ไม่แปลกเลยนะครับที่เป็นเช่นนั้นเพราะวัตถุที่มากจากระบบ BIM เช่น Pump,Pipe,Valve..etc วัตถุต่างๆเหล่านั้นจะมีข้อมูลติดตัวมาด้วย (แล้วมาได้ยังไงเดียวเราจะมาดูวิธีครับ) ดังนั้นข้อมูลที่ฝ่ายซ่อมบำรุงต้องการไว้ใช้สำหรับงานของตัวเองก็ต้องใส่ไปตอนทำสัญญาด้วยครับ ไม่งั้นก็ต้องมานั่งปวดหัวต่อไปเพราะอะไรเดี๋ยวมีโอกาสจะนำเสนอแน่นอน..ถ้าไม่ลืมซะก่อน
3.มาจากเหตุผลข้อที่ 2 ด้วยก็คือเจ้าของตึกต้องการข้อมูลไว้วางแผนซ่อมบำรุงอาคารที่เป็นระบบ BIM ผู้รับเหมาก็ต้องจัดทำ ไม่ว่าจะทำเอง หรือวิธีการจ้าง Out source ราคาก็แล้วแต่ขนาดโครงการความยากง่าย (ปริมาณข้อมูล)
ครับเรามาเข้าเรื่องกันเลยจากครั้งที่แล้ว ผมจะสร้างเจ้าตัว Water Hammer Arrestor พร้อมทั้งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับลูกค้าด้วย
โปรแกรมที่ใช้ในบทความแรกจะเริ่มจาก ArchiCAD ครับและในครั้งต่อๆไปก็จะใช้ Revit ด้วยเพื่อความเท่าเทียมกัน...(จะไม่มีปัญหาแบบการบ้านเมือง 555) ซึ่งขั้นตอนการทำอาจแตกต่างกันบ้าง ดังนั้นดูที่จุดหมายปลายทางเป็นหลักครับจะได้ไม่หงุดหงิดกวนใจ..เริ่มเลยละกัน (วิธีการไม่ละเอียดนะครับเพราะ Blog ผมไม่ได้สอนการใช้งานโปรแกรมครับ(แต่ก็เกือบๆละ) แต่ความตั้งใจคืออยากให้ผู้สนใจรู้ว่า BIM เป็นประโยชน์กับงานด้าน MEP ยังไงมากกว่า)
1. เรามาดูหน้าตาโปรแกรมกันครับก่อนครับดังรูปข้างล่าง
(หน้าตาโปรแกรม)
มองดูจากหน้าตาของโปรแกรมแล้วก็บอกว่าประทับใจครับ เพราะดูเรียบๆดีครับ เริ่มจากใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Morph กันต่อเลยดีกว่าครับ2.เริ่มจากเขียนส่วย Body (โดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Morph) ก่อนครับก็ลองๆเขียนดูครับเริ่มจากทำวงกลมแล้วดึงขึ้นมาตามแกน Z รู้สึกจะเหมือน Sketch Up เลยครับ ผมคิดว่าหลักการเหมือนกันเลย (แบบนี้เค้าเรียกว่า "กินหมู" สินะ)
3. จากนั้นก็เริ่มส่วนหัว (ส่วนที่จะต่อกับท่อ) ก็ใช้การ Copy ขณะหมุนครับ
4. ต่อมาก็ปรับความยาวส่วนหัวให้พอดีครับ ก็ตามใจผู้เขียนครับ..55..แต่ก็กะไว้ว่าจะต่อเข้ากับท่อน้ำขนาด 1 นิ้วครับ (งานจริงก็ต้องดูแคตตาล็อกจากผู้ผลิต) รูที่จะสวมท่อเข้าไปก็ระยะประมาณ 1 นิ้วครับ(เขียนวงากลมแล้วก็ดึงเข้าไปครับ) แลัวก็ปรับส่วนบนให้มนกลมหน่อยนึง..เอาล่ะครับเดียวจะไม่จบ (พอดีเรียบ) เอาง่ายๆไปก่อนและจะไปดูเรื่องการใส่ข้อมูลของตัวอุปรกรณ์กันต่อ
5. จัดการใส่ข้อมูลเข้าไปที่วัตถุ เช่น ชื่อ Water Hammer Arrestor แล้วก็ข้อมูลใช้งานในที่นี้เช่น ความดันใช้งาน อุณหภูมิ เป็นต้น(ซึ่งเราจะเพิ่มข้อมูลอะไรจำนวนเท่าไหร่ก็แล้วแต่เราครับ)
7. สร้างข้อมูลเพิ่มเติมครับ Property Set name : ตั้งชื่อหัวกลุ่มข้อมูลในที่นี้ผมให้ชื่อว่า MEP_Information เพราะจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์อยู่ในกลุ่ม MEP และ Property name : ความดันใช้งานสูงสุด (ก็ลองเขียนภาษาไทยดู..ฮึ..ใช้ได้แฮะ)
8. ทดสอบการแสดงผลในรายการวัสดุ BOQ ก็จะได้ดังรูปโดยในตัวอย่างแสดงให้ดูว่าไม่ว่าข้อมูลเป็นแบบใหนใส่อะไรเข้าไป สามารถนำมาแสดงได้หมดครับ ( ถ้าทำงานจริงข้อมูลต้องละเอียดกว่านี้ครับโดยผู้อ่านอาจจะต้องใส่ Model No./ยี่ห้อ/ส่วนพวกความดัน อุณหภูมิ อาจเอาไปใว้ใน Description ก็ได้ตามความเหมาะสม)
เอาละครับเดียวต่อไปผมจะลองเก็บเจ้าตัว WHR ตัวนี้ไว้เป็น Library แล้วก็เอาออกมาใช้..เมื่องานต้องการ..55 (เดียวมาต่อคราวหน้าครับ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น